การเปิดชั้นเรียน (open class) โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด

การเปิดชั้นเรียนให้เป็นสาธารณะ สร้างชั้นเรียนที่เป็นของทุกคน
การเปิดชั้นเรียน (open class) โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด
วิทยากร / สังกัด :
  • รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ - รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่นนายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษาประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด
  • ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ผศ.ดร.พงศ์ธนัช แซ่จู - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ผศ.ดร.จิรดาวรรณ หันตุลา - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การเปิดชั้นเรียน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Open Class เป็นกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพครู (Teaching Profession) โดยมีพื้นที่ในการพัฒนาใช้ห้องเรียนจริง (Live Classroom) เพื่อค่อยๆ ทำความเข้าใจ “ความสลับซับซ้อนของชั้นเรียน” และ “วิธีการแก้ปัญหา” (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2557) ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้รับการพัฒนามามากกว่า 140 ปี โดยมีจุดเน้นคือ 1) เป้าหมายหลักของการพัฒนาอยู่ที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนใน “ชั้นเรียน” 2) พื้นที่ในการพัฒนาใช้ “ห้องเรียนจริง” (Live Classroom) 3) เป้าหมายรองของการพัฒนาอยู่ที่การเรียนรู้ร่วมกันของครู (Teacher Learning) เพื่อจะเข้าใจนักเรียน และ 4) เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา (Isoda, 2005; Shimizu, 2006; Inprasitha, 2016) การเปิดชั้นเรียนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาทางด้านการสอน ซึ่งในประเทศไทยแนวคิดนี้จัดขึ้นในนามของมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาในขณะนั้นเป็นคนนำร่องคำศัพท์นี้เข้ามาพร้อมๆ กับโครงการ APEC Lesson Study เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในการเปิดชั้นเรียนครั้งนี้ จะเป็นสาธิตการสอนในชั้นเรียนที่เน้นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning Classroom)


Tag: #การเปิดชั้นเรียน #การศึกษาชั้นเรียน #วิธีการแบบเปิด #การสอนในศตวรรษที่ 21 #การจัดการชั้นเรียน #การออกแบบการจัดการเรียนรู้ #การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ #ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ #นวัตกรรมในโรงเรียน