ห้องเรียนแห่งความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ 2 Technology around us

ห้องเรียนแห่งความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ 2 Technology around us
วิทยากร / สังกัด :
  • อ.รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์ - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
  • อ.เรวดี สันถวไมตรี - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
  • อ.ธฤษวรรณ คุณยศยิ่ง - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
  • อ.ดวงพร ข้องเกี่ยวพันธุ์ - โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

จะเป็นอย่างไรเมื่อห้องเรียนวิทยาศาสตร์ได้ขยายแนวคิดห้องเรียนแห่งความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจไปถึงห้องเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เมื่อเด็กแต่ละคนมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน คำตอบคือห้องเรียนยุคใหม่ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียนรู้และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิด ตั้งคำถาม และออกไปค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ห้องเรียนตัวอย่างทั้ง 4 ห้อง ซึ่งมีทั้งห้องเรียนปกติและห้องเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนพื้นฐานหลักการของ Technological Pedagogical Content Knowledge : TPACK คือ การบูรณาการความรู้ด้านเนื้อหา(Content Knowledge) ความรู้ด้านศิลปะการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge) และความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge) เข้ามาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดเรียนการสอนและกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจด้วยวงจร 3I ( I inspire you You inspire me และ We inspire others)

ท่านสามารถทำแบบประเมินโดยการคลิก ที่นี่ หรือ copy URL ต่อไปนี้ไปวางบนบราวเซอร์ที่ท่านใช้ https://bit.ly/32AoJlT


Tag: #การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ #การสร้างแรงบันดาลใจ #การสร้างความคิดสร้างสรรค์ #ทักษะศตวรรษที่ 21 #การออกแบบการจัดการเรียนรู้ #การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้