What Should Be Taught in the Age of Uncertainty: Korean Context

What Should Be Taught in the Age of Uncertainty: Korean Context
วิทยากร / สังกัด :
  • Bae Sang Hoon, Ph.D. - SKKU Department of Education, Sungkyunkwan University, South Korea

จากมุมมองของสังคมนานาชาติ เราทราบกันดีว่าเกาหลีเป็นประเทศที่บรรลุถึงสังคมอุตสาหกรรมและสังคมประชาธิปไตยได้ในระยะเวลาอันสั้น แน่นอนอย่างยิ่ง การที่สังคมเกาหลีประสบความสำเร็จอันน่าตื่นตระหนกได้นี้ มีปัจจัยสำคัญหลายประการ

ทว่า ปัจจัยที่เป็นพลังขับเคลื่อน (driving force) ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเกาหลี เชื่อกันว่า คือการลงทุนในทุนมนุษย์ (human capital investment) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ‘การศึกษา’ (education) นั่นเอง

ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าการที่ ‘การศึกษา’ ในประเทศเกาหลีได้รับการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพนั้นมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ทางสังคมที่มุ่งเน้นด้านการให้การศึกษา รวมถึง ‘ความคลั่งในการศึกษา’ (education fever) ที่บิดามารดาคาดหวังต่อบุตรหลานของตน อย่างไรก็ตาม การที่การศึกษาได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศที่หลงเหลือเพียงเถ้าถ่านยุคหลังสงครามเช่นเกาหลีสำเร็จนั้น เป็นเพราะจิตสำนึกทางสังคมที่เชื่อว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนเชิงกลยุทธ์และแบบต่อเนื่อง (sequential and strategic education investment) ในระดับชาติ ในความเป็นจริงแล้ว การศึกษาในประเทศเกาหลีได้ทำหน้าที่หลักเพื่อสนองตอบด้านทรัพยากรมนุษย์ในเชิงปริมาณที่จำเป็นในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมของประเทศกล่าวคือ เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมจากอุตสาหกรรมเบาไปสู่อุตสาหกรรมเคมีหนัก และไปสู่อุตสาหกรรมบนฐานความรู้ นอกจากนี้ การศึกษายังช่วยสร้างพลเมืองให้มีจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย และสร้างผู้นำในแต่ละสาขาทางด้านการเมือง ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม เพื่อยกระดับนำพาเกาหลีไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

ต่อจากนี้ไป สังคมเกาหลีต้องเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบใหม่ การพัฒนาการเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ส่งผลทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความเป็นดิจิทัล (digital transformation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงธุรกิจ การปฏิวัติข้อมูล Big data ก็ส่งอิทธิพล ทำให้โครงการอุตสาหกรรมและวงการอาชีพเปลี่ยนแปลงไป ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีนี้ส่งผลทำให้ เกาหลีก้าวเข้าสู่ ‘โลกแห่งการเชื่อมต่อ’ (hyper-connected society) ซึ่งเชื่อได้ว่ารูปแบบและวิธีการที่เชื่อมบุคคลกับบุคคล เชื่อมโยงบุคคล กับชุมชนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แน่นอนอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและ สังคมเหล่านี้จะส่งผลอย่าง รุนแรงต่อชีวิตส่วนตัว วัฒนธรรม จารีต และระเบียบทางสังคมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านระเบียบเศรษฐกิจใหม่ เช่น ภาวะโลกร้อน วิกฤตธรรมชาติ การกีดกันทางการค้า และปัญหาระดับ โลก เช่น ความขัดแย้งทางศาสนาความเชื่อ การขยายตัวของผู้ยากไร้ อื่นๆ ที่ต้องได้การแก้ไขด้วย ทว่า สิ่งที่เป็นปัญหาประการ สำคัญที่สุดสำหรับเรา คือ การที่เรามิอาจ คาดการณ์ได้ถึงทิศทาง ความเร็ว และความรุนแรงของ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง เรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความพลิกผัน (age of uncertainty) นั่นเอง สังคมเกาหลีเองก็กำลังรับมือกับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ บทเรียนในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า "การศึกษา" เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกาหลีสามารถพัฒนามาได้ในอดีตและพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น เวลานี้ จึงเป็นเวลาที่พวกเราต้องหันมานิยามว่า ‘สังคมแห่งอนาคตต้องการบุคลากรที่มีความสามารถด้านใด’ และ งการศึกษาต้อง สอนอะไร ให้แก่ผู้ใด ที่ไหน และอย่างไร’ ศาสตราจารย์ ดร.แพ ซังฮุน จะให้ความกระจ่างว่าในบริบทของสังคมเกาหลี การศึกษามีความสัมพันธ์โดยตรงกับ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างไร รวมถึงนำเสนอว่าในปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีและชุมชนการศึกษาได้ใช้ความ พยายามด้านการศึกษาอย่างไรเพื่อสนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงต่อภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเริ่มใช้ ระบบหลักสูตรการศึกษาแกนกลางบนพื้นฐานความสามารถ (competency-based national curriculum) ความร่วมมือ แบบพลวัติระหว่างโรงเรียนประจำหมู่บ้านและชุมชน การฟื้นฟูโรงเรียนหลังเลิกเรียนเพื่อเสริมหลักสูตรการศึกษา ภาคปกติ การใช้ระบบนวัตกรรมการเรียนการสอน การเปลี่ยนระบบการประเมินผลแบบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เป็นต้น เชื่อว่าจะมีนัยยะสำคัญเชิงนโยบายต่อทางรัฐบาลไทยและชุมชนการศึกษาด้วยเช่นกัน"

Please leave us a comment by clicking here or following this link https://bit.ly/2T4u2o7.


Tag: